ยินดีต้อนรับทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคของผมครับ

เกริ่นนำ

..........สวัสดีและยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อคของผม
เว็บบล็อคนี้เป็นสื่อที่ใช้ประกอบวิชาความเป็นครูในภาคเรียนที่ 1
มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับครูมากมาย รวมถึงจรรยาบรรณเกี่ยวกับความเป็นครู โดยสื่อนี้สร้่างขึ้นมาโดยผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนและการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต และการเรียนผ่านเว็บ
ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้นในการหาข้อมูลทั้งที่เป็นบทความและรูปถาพที่เกี่ยวข้องกับ ความเป็นครู และช่วยให้ผูเรียนได้มีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขว้างและอิสระในการออกแบบ ยิ่งไปกว่านี้เรายังสามารถนำข้อมูลที่เราค้นคว้ามาอย่างกว้างไกกล มาตรวจสอบและมาศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกตอได้อีก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลในเว็บบล็อคนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ ผู้ที่เข้มาเยี่ยมชมในบล้อคหากในเว็บบล้อคมีข้อมูลใดผิดพลาดประการใดโปรดแจ้งผมด้วย ผมจะได้รีบแก้ไขและปรับปรุง....ขอบคุณครับ

หน่วยที่ 1

ความเป็นครู

ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว  ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย  ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้
           ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก
          อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า “ความหมายของครูตามรูปแบบ”
          ที่ ผู้เขียนใช้ข้อความนี้ เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ
          ตัวอย่าง ความหมายของครูตามรูปแบบ จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า “ข้าราชการครู” ซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓) กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ
          เฉพาะกลุ่มที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก ก็มีการแบ่งตำแหน่งเป็นระดับ ๆ ไปจากล่างขึ้นไปสูง คือ
          ๑. ครู ๑
          ๒. ครู ๒
          ๓. อาจารย์ ๑
          ๔. อาจารย์ ๒
          ๕. อาจารย์ ๓
          ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
          ๗. รองศาสตราจารย์
          ๘. ศาสตราจารย์
          และบางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้ เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตำแหน่งที่ ๖-๗-๘ จะมีได้เฉพาะในหน่วยงานที่มีการสอนถึง ระดับปริญญาเท่านั้น
          ยิ่ง กว่านั้น ในสถาบันอุดมศึกษาบางสังกัด กล่าวคือ มหาวิทยาลัย ได้มีการกำหนดแบบของครูเป็นพิเศษต่างหากออกไปจน ไม่มีกลิ่นไอของครูเลยทีเดียว ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายคนละฉบับกัน
          ความ หมายของครูตามรูปแบบอาจ มีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตามเนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า “ครู” อาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดย อาจถูกมองว่าไม่เหมาะกับยุคสมัย เช่น แทนที่ จะเรียกว่า “ครู” ก็เรียกว่า “อาจารย์” หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์” หรือคำอื่น ๆ (อาจมีขึ้นภายหลัง) ดูจะเท่หรือโก้กว่าหรือทันสมัยกว่า
          ที่ กล่าวเช่นนี้ คงไม่เกินความจริง เพราะกฎหมายที่กำหนดขึ้นในระยะหลัง ๆ ดูจะพยายามลดความสำคัญของคำว่า “ครู” ลง จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม มองเฉพาะในแง่สถาบันผลิตครู เช่น วิทยาลัยครู ได้กลายมาเป็นสถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยที่ผลิตครู แม้มีคณะที่รับผิดชอบเรื่องครู ก็พยายามที่กลายชื่อเป็นอย่างอื่น เช่นศึกษาศาสตร์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
          นาน ๆ ไป คำว่า “ครู” คงจะหมดไป และคนที่เป็นครู อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้ จนที่สุดแม้แต่เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้ เพราะสามารถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้น องค์ประกอบแห่งความเป็นครู ที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็ได้ หลับตาดูก็แล้วกัน หากเป็นเช่นนั้นจริง สังคมในอนาคตจะวุ่นวายแค่ไหนสุดที่จะเดาได้
บทบาทหน้าที่ของครูตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ
          พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๙ : ๒๔๒-๒๕๓) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูไว้ว่
  ๑. บทบาทของครู
          ครู คือผู้นำทางวิญญาณ ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
          ๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง คือการดับทุกข์
          ๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
          ๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
๒. ครูเป็นผู้สร้างโลก
          บุคคล ในโลกจะดีหรือเลว ก็เพราะการศึกษาและผู้ให้การศึกษา ก็คือครู ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต โดยผ่านศิษย์ โลกที่พึงประสงค์คือ โลกของคนดีอันเปรียบได้กับ
          ๑. มนุษยโลก คือ สร้างบุคคลที่มีจิตใจสูง
          ๒. พรหมโลก คือ สร้างบุคคลที่ประเสริฐรักเพื่อนมนุษย์ มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
          ๓. เทวโลก คือ สร้างบุคคลให้มีหิริ โอตตัปปะ
 ๓. หน้าที่ของครู
          หน้าที่ ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
          ๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
          ๒. ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง และใจสงบ
          ๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและสังคม
คุณลักษณะที่ดีของครู
๑. ครูต้องมีลักษณะบากบั่น ต่อสู้ อดทน สร้างคนให้เป็นคนดีให้ได้
 ๒. ครูต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกด้าน ให้สมกับที่คนยกย่องนับถือว่ามีใจประเสริฐ
๓. ครูต้องงดเว้นอบายมุขทุกอย่าง เช่น การดื่มเหล้า เล่นการพนัน
๔. ครูต้องเป็นคนมีน้ำใจสะอาด มีความเสียสละมากไม่จำเป็นต้องมีปริญญาการศึกษาสูงเสมอไป ขอเพียงแต่มีความจริงใจ มีใจรักในความเป็นครู
๕. ครูควรให้เวลาแก่เด็กนักเรียน ในการที่จะศึกษาปัญหาต่าง ๆ และฟังความคิดเห็นของเด็กบ้าง
๖. ครูควรทำตัวให้ดี มีนิสัยดี เพื่อลบล้างข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับครูตามที่ปรากฏในสื่อมวลชนต่าง ๆ
๗. ครูไม่ควรถือตัว ควรเข้ากับทุกคนแม้จะเป็นคนยากจนก็ตาม
๘. ครูควรมีลักษณะพร้อมที่จะสร้างคนให้เป็นคนดีมีความรู้ ความคิดและเป็นคนดี
๙. ครูต้องเป็นคนสามารถสร้างสรรค์สังคมและช่วยเหลือประเทศชาติเป็นอันดับแรก ดังนั้น ครูต้องขยันอย่างน้อยให้ใกล้เคียงกับคนที่ทำงานธนาคาร
๑๐. ในด้านความรู้ ชาวบ้านมีความศรัทธาว่า ครูมีความรู้ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ครู ควรจะมีให้มากคือด้านความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี
คุณธรรมความเป็นครู
  คุณธรรม ความเป็นครูในบทความนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวสำหรับคนที่ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอกตัวครูอื่นอีก ไม่ว่าระบบบริหารสถาบันวิชาชีพ จรรยาบรรณ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
           คำ ว่า “ครู” นั้น แม้โดยรูปแบบจะมีการแบ่งเป็นกลุ่ม ระดับตามลักษณะงาน และระดับการศึกษาที่ตนมีบทบาทหน้าที่ก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้ ครูต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบ ๓ ประกอบคือ ๑) มีความรู้ดี ๒) มีความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม
           หากขาดคุณสมบัติทั้งสามนี้ ก็ยากที่จะคงบทบาทแห่งความเป็นครูอยู่ได้
           บทบาท แห่งความเป็นครูนั้น แม้จะกำหนดไว้แตกต่างกันตามลักษณะประเภทองค์กรที่ครูสังกัด แต่ก็อยู่ในกรอบใหญ่ ๓ กรอบตามคุณสมบัติของครูนั่นเอง คือบทบาทในกรอบความรู้ กรอบความประพฤติ และกรอบคุณธรรม
           แม้ จะมีกรอบททั้งสามนี้แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากภาวการณ์ปัจจุบันเป็นภาวการณ์วิกฤต ตามกระแสโลกาภิวัตน์ การออกนอกกรอบอาจเกิดขึ้นได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความวุ่นวายในสังคม เพราะสังคมนั้น ประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนย่อมได้รับการศึกษาอบรมไปจากครู เมื่อครู ซึ่งเป็นต้นแบบออกนอกกรอบ ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผลผลิตก็จะออกนอกกรอบไปด้วย
           ดัง นั้น จึงจำเป็นที่ครูต้องมีปรัชญาและคุณธรรมที่เสริมเพิ่มความเป็นครู ในด้านปรัชญานั้นควรที่จะยึดหรือยืนอยู่ตรงจุดที่มีดุลยภาพ คือตรงจุดกึ่งกลางแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรวดเร็ว และชลอความเร็วเกินขนาดจนอาจเป็นอันตรายได้
           ใน ด้านคุณธรรม โดยสามัญสำนึก ทุกคนย่อมตระหนักได้เองว่า อะไรดีไม่ดี ควรไม่ควร ถ้าคนนั้นผ่านการกล่อมเกลาทางสังคมมาระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นครูได้ผ่านการกล่อมเกลา และกรองมาแล้วหลายระดับและหลายครั้ง ย่อมทราบโดยสำนึกแน่นอนว่าอะไรดีควรทำตามหน้าที่ นั่นหมายความว่า คุณธรรมเป็นสิ่งที่มีประจำใจของใคร ๆ อยู่แล้ว
           อย่าง ไรก็ตาม ในแง่การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ต้องคำนึงขั้นตอนการพัฒนาตามหลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิปละปัญญา เพราะเมื่อดำเนินการตามหลักนี้แล้ว จะทำให้เกิดคุณธรรมอื่น ๆ ติดตามมาโดยอัตโนมัติ ในฐานะที่หลักไตรสิกขานั้นเป็นหลักเพื่อการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งไปสู่พุทธิปัญญาที่จะทำให้มีอิสระปลอดโปร่ง และปลอดภัยอย่างแท้จริง อันเป็นที่ปรารถนาของคนทุกระดับ
           ที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่จะขวนขวายแสวงหาเพื่อการพัฒนาด้วยตน เอง โดยไม่สัมพันธ์กับระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริหารจัดการบุคลากรครูอันเป็นโครงสร้างและสิ่งแวด ล้อมสำคัญที่จะให้เกิดการปฏิบัติดังกล่าว จึงน่าจะมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการดังกล่าวเกี่ยวกับบุคลากร ครู ข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้
           ๑. ครูในฐานะปัจเจกบุคคลต้องมีใจพร้อมที่จะทำหน้าที่ครู เป้าหมายคือยกระดับวิญญาณมนุษย์ ไม่ใช่ยกระดับความรู้เท่านั้น
           ๒. รัฐต้องปฏิรูปครูทั้งระบบทุกระดับ ตั้งแต่ครูก่อนประถมจนถึงรถดับอุดมศึกษา (ผู้ทำหน้าที่สอนทุกระดับถือว่าเป็นครู) โดยปฏิรูปทั้งระบบการผลิต การใช้และการพัฒนา
           ๓. ถ้าถือว่าวัยต้น ๆ ของคนเป็นวัยที่มีความสำคัญ เพราะเป็นวัยที่วางรากฐานการพัฒนาที่สำคัญที่สุด เป็นวัยที่ชี้ทิศทางแห่งการพัฒนาวัยต่อ ๆ ไปแล้ว ครูในระดับต้น ๆ คือก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาก็ควรจะได้รับความสำคัญเป็นพิเศษด้วย โดยเฉพาะแง่ความก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและวิชาชีพครู
           กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าสมัย น่าจะได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ครูในระดับต้น ๆ ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษดังกล่าว ทางก้าวหน้าของครูในระดับต้น ๆ น่าจะมีช่องทางเหมือนกันกับครูในระดับสูง ๆ ตำแหน่งทางวิชาการไม่ว่าจะโดยชื่อ หรือสิทธิประโยชน์อันมากับตำแหน่งนั้น น่าจะมีเหมือนกันและเท่ากันสำหรับครูทุกระดับ ศาสตราจารย์มีได้แม้ในครูอนุบาล ถ้าคุณภาพทางวิชาการถึงระดับกำหนด
           ๔. ในขณะที่ยุคนี้ เทคโนโลยีกำลังมาแรง ครูและผู้จัดระบบการบริหารจัดการครู ต้องตั้งสติให้ดีว่า คนจะต้องใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเท่านั้น อย่าหลงหรือเผลอให้เทคโนโลยีมาใช้คน โดยไม่รู้ตัว เพราะมิฉะนั้น จะถึงจุดอันตราย ที่ความเป็นมนุษย์จะสูญสิ้น จะมีแต่ความเป็นวัตถุเมื่อถึงขั้นนั้น คนจะพูดกันด้วยเหตุผลไม่รู้เรื่อง แต่จะพูดกันด้วยวัตถุ หรือเงิน หรือผลประโยชน์อื่น ๆ
           ๕. สภาพแวดล้อมทางสื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญเสมือนหนึ่งเป็นครูโดยอัตโนมัติ เพราะสามารถสื่อความหมายสิ่งต่าง ๆ ทั้งดีและไม่ดีที่มีอิทธิพลต่อคนไม่ยิ่งหย่อนหรือมากไปกว่าครูด้วยซ้ำไป ดังนั้น วิชาการทางสื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็นนิเทศศาสตร์หรือชื่ออื่นใด ควรจะมีวิชาคุณธรรมความเป็นครูให้ศึกษาด้วย และให้ผู้ประกอบอาชีพด้านนี้ มีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นหรือเสมือนเป็นครูคนหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อความรู้สึกรับผิดชอบต่อผลของการเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จะเพิ่มความเข้า

ครูและความเป็นครู

  1. 1. ครู และ ความเป็นครู
  2. 2. คาว่า “ครู” ในอุดมคติของเพื่อน ๆ คืออะไร ??? คาถามชวนคิด
  3. 3. หัวข้อรายงาน ความสาคัญของอาชีพครู สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู ความเป็นครูที่สังคมคาดหวัง ครูไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ความหมายของคาว่า “ครู” ความหมายของคาว่า “อาจารย์” ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ ความเป็นครู
  4. 4. ความหมายของคาว่า “ครู” คาว่า “ครู” นั้นมาจากรากศัพท์ในภาษาบาลีว่า “คุรุ – ครุ” หรือจากภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” ในความหมายที่เป็นคานาม แปลว่า “ผู้สั่งสอนศิษย์หรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์” ส่วนในความหมายที่ เป็นคาวิเศษณ์ในภาษาบาลี แปลว่า หนัก สูง ส่วนในภาษาสันสกฤต แปลว่า ใหญ่ หรือหนัก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  5. 5. “ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลัก ทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย วิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ความหมายของคาว่า “ครู” (ต่อ) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
  6. 6. ในสมัยโบราณ คาว่า “ครู” เป็นคาที่สูงมาก “ครูเป็นผู้เปิดประตู ทางวิญญาณ” และนาวิญญาณไปสู่คุณธรรมชั้นสูง เป็นเรื่องทางจิตใจ โดยเฉพาะ ครูเป็นผู้ควรเคารพหรือมีความหนักที่เป็นหนี้อยู่เหนือศีรษะ เป็นเจ้าหนี้อยู่เหนือศีรษะของทุกคน ความหมายของคาว่า “ครู” (ต่อ) พระธรรมโกศาจารย์หรือพุทธทาสภิกขุ จากความหมายนี้จึงพอสรุปได้ว่า คาว่าครูนั้น คือ “ผู้เปิด ประตูทางวิญญาณของศิษย์เพื่อนาศิษย์ไปสู่คุณธรรมชั้นสูง” คาว่า “วิญญาณ” ในที่นี้หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดนั่นเอง
  7. 7. • ผู้มีความหนักแน่น • ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์ • ผู้สั่งสอน ความหมายของคาว่า “ครู” (ต่อ) เปลื้อง ณ นคร • ผู้สั่งสอนศิษย์ • ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ • เครื่องเตือนใจ เช่น ผิดเป็นครู มานิต มานิตเจริญ
  8. 8. ครู ว่าหมายถึง ผู้อบรมสั่ง สอน ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นผู้มีความหนักแน่นควรแก่การ เคารพบูชาของศิษย์ ความหมายของคาว่า “ครู” (ต่อ) ยนต์ ชุ่มจิต
  9. 9. โดยสรุป อาจกล่าวได้ว่า “ครู” คือ ผู้ที่ทา หน้าที่สอนให้ศิษย์เกิดความรู้ และมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี นาประโยชน์ให้แก่สังคมได้ในอนาคต ความหมายของคาว่า “ครู” (ต่อ)
  10. 10. ความหมายของคาว่า “อาจารย์” “อาจารย์” เป็นคาที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต “อาจารย” “อาจาริย” และในภาษาอังกฤษใช้คาว่า “Instructor” ซึ่งเดิมใช้ เรียกพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นหัวหน้าพระหรือพระที่ทาหน้าที่สอน นักธรรมหรือเปรียญธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์
  11. 11. “อาจารย์” คือ ผู้สั่งสอนวิชาความรู้และคาที่ใช้เรียกนาหน้าชื่อ บุคคล เพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง ความหมายของคาว่า “อาจารย์” (ต่อ) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  12. 12. “คณาจารย์” หมายความว่า บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลัก ทางด้านการสอนและงานวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับ ปริญญาของรัฐและเอกชน ซึ่ง “คณาจารย์” ตามความหมายในพจนานุกรรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง อาจารย์ของหมู่คณะ , คณาจารย์ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ความหมายของคาว่า “อาจารย์” (ต่อ)
  13. 13. จาแนกความหมายของ “อาจารย์” เป็น 2 แบบคือ • ความหมายดั้งเดิมหมายถึง ผู้ฝึกมารยาทหรือผู้ความคุมให้อยู่ใน ระเบียบวินัย เป็นผู้รักษาระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ • ความหมายปัจจุบัน หมายถึง ฐานะชั้นสูงหรือชั้นหนึ่งของผู้ที่เป็นครู พุทธทาสภิกขุ ความหมายของคาว่า “อาจารย์” (ต่อ)
  14. 14. • ผู้ประพฤติการอันเกื้อกูลแก่ศิษย์ • ผู้ที่ศิษย์พึงประพฤติด้วยความเอื้อเฟื้อ • ผู้สั่งสอนวิชาและอบรมดูแลความประพฤติ หนังสือพจนานุกรมพุธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของพระราชวรมุณี ความหมายของคาว่า “อาจารย์” (ต่อ)
  15. 15. ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ พุทธทาสภิกขุให้ความหมายของคาว่า “อุปัชฌาย์” ว่า หมายถึง ผู้สอนวิชาชีพ แต่ในปัจจุบันนี้ หมายถึง พระเถระ ผู้ใหญ่ ที่ทาหน้าที่เป็นผู้ บวชกุลบุตรในพระพุธศาสนา อุปัชฌาย์
  16. 16. อาจารย์ที่มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง ในสมัยโบราณกาลผู้มีอัน จะกินจะต้องส่งบุตรหลานของตนไปสู่สานัก ทิศาปาโมกข์ เพื่อให้เรียน วิชาที่เป็นอาชีพหรือวิชาชั้นสูงในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อกลับไปรับหน้าที่ทา การงานที่สาคัญ ๆ ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ (ต่อ) ทิศาปาโมกข์
  17. 17. คือ อาจารย์เบื้องต้น หมายถึง บิดา มาดา ซึ่งถือว่าเป็นครูคนแรก ของบุตรธิดา บุรพาจารย์ หรือ บูรพาจารย์ ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ (ต่อ)
  18. 18. คือ อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาหนึ่ง จนยากที่จะหาผู้ใดที่มี ความรู้ความสามารถเสมอเหมือนได้ ปาจารย์ คือ อาจารย์ของอาจารย์ ปรมาจารย์ ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ (ต่อ)
  19. 19. คาศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีความหมายคล้ายกับคาว่าครู หรือ Teacher Teacher หมายถึง ผู้ที่ทาหน้าที่ประจาในโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษา ต่างๆ ตรงกับคาว่าครู หรือ ผู้สอน Instructor หมายถึง ผู้ที่ทาหน้าที่เป็นผู้สอนโดยเฉพาะในวิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัย ตรงกับคาว่า อาจารย์ ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ (ต่อ)
  20. 20. (ในประเทศอังกฤษ) หมายถึง ตาแหน่งผู้สอนที่ถือว่าเป็น ตาแหน่งสูงสุดในแต่ละสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ในอเมริกาและ แคนาดาใช้เป็นคานาหน้านามสาหรับผู้สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆเช่น • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้คาว่า Assistant Professor • รองศาสตราจารย์ ใช้คาว่า Associate Professor • ศาสตราจารย์ ใช้คาว่า Professor Professor ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ (ต่อ)
  21. 21. Lecturer หมายถึง บุคลที่สอนในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ตรงกับคา ว่า ผู้บรรยาย Tutor หมายถึง ผู้ทาหน้าที่สอนนักศึกษาเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือ รายบุคคล โดยทางานเป็นส่วนหนึ่งของผู้บรรยายคล้ายๆกับผู้สอน เสริมหรือผู้กวดวิชา ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ (ต่อ)
  22. 22. Sophist เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง ปราชญ์สอนวิชาต่างๆ คล้ายกับ คาว่า ทิศาปโมกข์ ความหมายของคาที่เกี่ยวกับ ครู-อาจารย์ (ต่อ)
  23. 23. ความเป็นครู พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “...ความเป็นครู หมายถึง การมีความรู้ดีประกอบด้วยหลักวิชาการที่ ถูกต้องแน่นแฟ้ นและแจ่มแจ้งแก่ใจ รวมทั้งความดีและความเอื้ออารี ปรารถนาที่ จะถ่ายทอดเผื่อแผ่ให้คนอื่นได้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีด้วย ความแจ่มแจ้งแน่ชัด ในใจย่อมทาให้สามารถส่องแสดงความรู้ออกมาให้เข้าใจตามได้โดยง่าย ทั้งในการ ปฏิบัติงานย่อมทาให้ผู้ร่วมงานเข้าใจได้แจ่มชัด ส่วนความหวังดี โดยบริสุทธิใจนั้น จะน้อมนาให้เกิดศรัทธาแจ่มใสมีใจพร้อมที่จะรับ ความรู้ด้วยความเบิกบาน ทั้งพร้อมที่จะร่วมกับผู้ที่มีคุณสมบัติครู โดยเต็มใจและมั่นใจ ดังนี้ ก็จะทาให้กิจการใดๆ ที่กระทาอยู่สะดวก ราบรื่น และสาเร็จประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสมบูรณ์...”
  24. 24. พระราชดารัช พระราชทานแก่ครุอาวุโส ประจาปี 2522 “ความเป็นครูนั้น ประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่มีคุณค่าสูงหลายอย่าง อย่างหนึ่งได้แก่ปัญญา คือ ความรู้ที่ดีที่ประกอบด้วยหลักวิชาอันถูกต้อง ที่แน่นแฟ้ น กระจ่างแจ้งในใจ ร่วมทั้งความฉลาดที่จะพิจารณาเรื่องต่างๆ ตลอดจนกิจที่จะทา คาที่จะพูด ทุกอย่างด้วยความถูกต้องด้วยเหตุผล อย่างหนึ่งได้แก่ความสามารถที่จะเผื่อแผ่และถ่ายทอดความรู้ความดีของ ตนเองไปยังผู้อื่นอย่างได้ผลความเป็นครูมีอยู่แล้ว ย่อมฉายออกให้ผู้อื่น ได้รับประโยชน์” ความเป็นครู (ต่อ)
  25. 25. Woolfolk and Nicolich (7 ประการ) ความเป็นครู (ต่อ) 1. ครูเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอน ครูจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในการสอน และวิธีที่จะใช้ ในการสอน 2. ครูเป็นผู้จูงใจ ครูจะต้องรู้จักวิธีการต่างๆ ในการที่จะช่วยให้นักเรียนเกิด แรงจูงใจ เพราะแรงจูงใจทาให้นักเรียนรู้บทบาทนี้ถือว่าเป็นบทบาท สาคัญที่สุดอย่างหนึ่งของครู
  26. 26. 3. ครูเป็นผู้จัดการ ครูทาหน้าที่จัดการชั้นเรียนการจัดการนี้รวมถึงการดูแลกิจกรรม ของชั้นเรียน การเตรียมบทเรียน การเตรียมแบบทดสอบ การให้เกรดการ พบปะครูคนอื่นและผู้ปกครอง เป็นต้น ความเป็นครู (ต่อ) 4. ครูเป็นผู้นา ครูทาหน้าที่เป็นผู้นาของกลุ่มนักเรียนซึ่งครูที่มี ประสิทธิภาพก็คือ ผู้นั้นมีประสิทธิภาพ
  27. 27. 5. ครูเป็นผู้ให้คาปรึกษา ครูควรตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการให้คาปรึกษา ของตน ครูจะต้องรู้แหล่งที่จะส่งนักเรียนไปรับการแก้ปัญหา เนื่องจาก นักเรียนมักจะนาปัญหาส่วนตัวมาปรึกษากับครู ความเป็นครู (ต่อ)
  28. 28. 6. ครูเป็นวิศวกรทางสิ่งแวดล้อม ครูจะต้องจัดชั้นเรียนให้มีส่วนเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ของนักเรียน เช่น การจัดที่นั่งเป็นวงกลมเพื่อการอภิปรายในชั้นเรียนเป็น บางครั้งบางคราว ความเป็นครู (ต่อ) 7. ครูเป็นตัวแบบ ครูจะทาหน้าที่เป็นตัวแบบสาหรับนักเรียน นักเรียนที่มีความ กระตือรือร้นในการเรียน มักจะถูกสอนโดยครูที่มีความกระตื้อรือร้นใน การสอน
  29. 29. ความสาคัญของอาชีพครู “…อาชีพครูถือว่าสาคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสาคัญในการ พัฒนาคน ซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบรูณ์ทุกด้านจึงสามารถช่วยกัน สร้างความเจริญให้แก่ ชาติต่อไปได้…” พระราโชวาทของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  30. 30. สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้ เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ภารกิจที่ครูพึงกระทาหรือจาเป็นต้องกระทาในฐานะนัก ปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น ร่วมกับคณะครูสาหรับพัฒนา การศึกษาการดาเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
  31. 31. ครูเป็นผู้อบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธ ลับชองชาติให้เป็นไปตามสังคมกาหนด ภารกิจที่ครูพึงกระทาในฐานะผู้ใช้ อาวุธลับของชาติ เช่น ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์ ปลูกฝังให้ศิษย์เช้า ใจสิทธิและหน้าที่ สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ) ครู คือ ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
  32. 32. ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมี ความสามารถ เป็นผู้นาของชาติ บ้านเมืองในทุก ๆ ด้าน ภารกิจที่ครูพึง กระทาหรือจาเป็นต้องกระทาในฐานะ ทหารเอกของชาติ เช่น เป็นผู้นาด้าน ระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรม ในชุมชนท้องถิ่น เป็นผู้เผยแพร่ หลักธรรมคาสอนแก่ชุมชน ครู คือ ทหารเอกของชาติ สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ)
  33. 33. ครูเป็นแบบอย่างแก่ เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้าน ความรู้และพฤติกรรมต่างๆ ภรกิจ ที่ครูพึงกระทาหรือจาเป็นต้อง กระทาในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น เป็นแบบอย่างที่ดีในการ ปฏิบัติตามมารยาทไทย เป็น แบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตน เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ)
  34. 34. ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนาตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่ กระทาสิ่งที่นาความเดือดร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น ภารกิจที่ครูพึงกระทา หรือจาเป็นต้องกระทาในฐานะกระจกเงาของศิษย์ เช่น ตักเตือนศิษย์ที่ แต่งกายไม่ถูกต้อง ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ครู คือ กระจกเงาของศิษย์ สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ)
  35. 35. ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็น ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา ภารกิจที่ ครูพึงกระทาหรือจาเป็นต้องกระทาในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น ให้ ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สอนศิษย์ให้รู้จักพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ)
  36. 36. ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้ความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไป พัฒนาสังคมประชาชาติ ภารกิจที่ครูพึงกระทาหรือจาเป็นต้องกระทาใน ฐานะผู้สร้างโลก เช่น สอนศิษย์เป็นนักคิด สอนศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนศิษย์ให้ขยัน ครู คือ ผู้สร้างโลก สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ)
  37. 37. ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล่มสลายก็เพราะครู ภารกิจที่ครูพึง กระทาหรือจาเป็นต้องกระทาในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ ในกามือ เช่น ไม่สอนวิชาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์ไม่แนะนาสิ่งที่ ผิดให้นักเรียน ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าวในสังคม ไม่แสดงความ คิดเห็นที่เป็นมิจฉาชีพ ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกามือ สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ)
  38. 38. ครูเป็นบุคลที่มีความน่าเคารพของศิษย์และบุคคลทั่วไป ภารกิจที่ ครูพึงกระทาหรือจาเป็นต้องกระทาในฐานะปูชนียบุคคล เช่น ลดละเลิก พฤติกรรมที่เป็นความชั่วทางกายทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต ฝึกให้ตน มรมโนสุจริต ครู คือ ปูชนียบุคคล สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ)
  39. 39. ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม เพราะครู ทาหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ งานของครู ในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทางานวิจัย ครูทางานพัฒนา ครูทางาน ครู คือ วิศวกรสังคม สมญานามที่เน้นให้เห็นความสาคัญของครู (ต่อ)
  40. 40. ความเป็นครูที่สังคมคาดหวัง ครูเป็นมนุษย์เท่านั้น จึงจะเป็นครูดีเด่นได้ ครูที่มีหัวใจเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์เท่านั้น จึงจะเป็นครูที่ดีเด่นที่แท้ ครูที่เป็นผู้นาทางปัญญาและทางวิญญาณเท่านั้นจึงเป็นครูดีเด่นจริง ครูดีเด่น จึงต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการสอน ครูดีเด่นจึงต้องเป็นผู้ที่ดารงและค้าจุนความเป็นไทยให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
  41. 41. ครูไทยในยุคโลกาภิวัตน์ • ครูในอนาคตต้องเป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศ • ครูในอนาคตจะต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ • ครูในอนาคตจะต้องติดตามความก้าวหน้าในเทคนิควิธีการสอน ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา • ครูในอนาคตจะต้องเป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่สามารถ พัฒนาศิษย์ให้ก้าวทันความรู้และปรับตัวกับชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ได้ • ครูยังต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อความก้าวหน้าทั้งทางวิชาการ เศรษฐกิจ และการเมืองอยู่เสมอด้วย
  42. 42. -- สรุป -- “ครูและความเป็นครู”
  43. 43. นางสาวสุมิตรา นันบุญ สมาชิก หมากส้มมอ นางสาวศุภากรณ์ จันทจร นางสาววิจิตรา ป้ องเรือ นางสาวสุจริต แสงสุวรรณ์ นายเกียรติชัย กุลกั้ง

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาสมบูรณ์ มีการจัดเรียงข้อความได้ดี
    มีการใส่ลูกเล่นให้ดูน่าสนใจ สีพื้นหลังก็สบายตาดี

    ตอบลบ